เมื่อผู้เสียชีวิตไม่ได้ทำพินัยกรรม จะแบ่งมรดกตามลำดับทายาทอย่างไร ?

Free Couple Reading the Newspaper Stock Photo

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายๆ ครอบครัวได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ เพื่อที่ว่าหากบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้เสียชีวิตลง ทรัพย์สินต่างๆ ก็จะได้ถูกแบ่งไปตามเจตจำนงของผู้เสียชีวิต แต่! ก็ปฏิเสธอีกไม่ได้เหมือนกันว่ามีหลายๆ คน หลายๆ ครอบครัว ต่างมองว่าการทำพินัยกรรมนั้นเป็นเรื่องของผู้คนที่ร่ำรวย มีทรัพย์สมบัติเยอะหรือมีแค่ในละครเท่านั้น จนเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาและมีผู้เสียชีวิต คราวนี้การแบ่งสมบัติก็จะเกิดความวุ่นวายอย่างแน่นอน ไม่ว่าคนนั้นจะเอารถ คนนี้จะเอาบ้าน ภรรยานอกสมรสจะเอาเงินในบัญชี ฯลฯ เรียกได้ว่าสารพัดปัญหา! ซึ่งสืบเนื่องมาจากการไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้นั่นเอง

ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะขอยกหัวข้อที่ว่า “เมื่อผู้เสียชีวิตไม่ได้ทำพินัยกรรม จะแบ่งมรดกตามลำดับทายาทอย่างไร ?” มาฝาก โดยจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เราไปติดตามพร้อมๆ กันเลย

ประเภทของทายาท(ผู้ที่จะได้รับมรดก)

อันดับแรกคุณต้องรู้ก่อนเลยว่าในทางกฎหมายนั้นจะแบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งประกอบไปด้วย..

1.ทายาทโดยธรรม : ความหมายก็คือ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย อาทิเช่น บุตรของผู้เสียชีวิต คู่สมรสของผู้เสียชีวิต(ต้องจดทะเบียนสมรส) บิดามารดาของผู้เสียชีวิต เป็นต้น

2.ทายาทโดยพินัยกรรม : ความหมายคือ บุคคลที่ผู้เสียชีวิตได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นญาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าสามารถเป็นใครก็ได้ตามที่ผู้เสียชีวิตต้องการยกมรดกให้ โดยมักจะนิยมเรียกทายาทประเภทนี้ว่า “ผู้รับพินัยกรรม”

แล้วถ้าผู้เสียชีวิตไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ใครจะได้รับมรดก ?

ในกรณีที่ผู้เสียชีวิตได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ผู้ที่จะได้รับมรดกในทันทีเลยก็คือ “ทายาทโดยพินัยกรรม” ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องแบ่งทรัพย์สินกับทายาทโดยธรรมหรือบุคคนอื่นใดๆ ทั้งสิ้น หรือหากจะให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนก็คือ ทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิมากกว่าทายาทโดยธรรมนั่นเอง แต่! ในกรณีที่ผู้เสียชีวิตไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ มรดกก็จะตกเป็นของทายาทโดยธรรม ซึ่งทายาทโดยธรรมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทก็คือ

1.ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส (คู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย)

2.ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ (จะเรียงลำดับตามความใกล้ชิด)

ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสจะเป็นผู้ได้รับมรดกเป็นอันดับแรก(100%) แต่ถ้าผู้เสียชีวิตเป็นโสดหรือไม่ได้จดทะเบียนสมรส มรดกจะตกทอดไปเป็นของทายาทโดยธรรมประเภทญาติในทันที ซึ่งจะมีการเรียงลำดับดังนี้

1.ผู้สืบสันดาน (ลูก, หลาน, เหลน, โหลน, ลื้อ)

2.บิดามารดา

3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

5.ปู่ ย่า ตา ยาย

6.ลุง ป้า น้า อา

และถ้าผู้เสียชีวิตมีทายาทโดยธรรมประเภทญาติหลายลำดับ เราต้องขอบอกเลยว่าทายาทในลำดับต้นๆ จะได้รับมรดกไปก่อน ส่วนทายาทในลำดับรองลงมาจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก

เอกสารที่ต้องนำไปประกอบในการขอรับมรดก

ไม่ว่าคุณจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม เอกสารที่คุณจะต้องจัดเตรียมในการไปขอรับมรดกเลยก็คือ…

1.หนังสือแสดงสิทธิ์

2.ใบมรณะบัตรของเจ้าของมรดก

3.ทะเบียนสมรส/หย่าของคุณกับผู้เสียชีวิต

4.ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน

5.ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกต้องไปสำนักงานที่ดินเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่

จากข้อมูลข้างต้นคุณคงจะได้เห็นแล้วใช่ไหมล่ะว่า “การทำพินัยกรรม” นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อวันที่คุณได้ลาจากโลกนี้ไป! และสำหรับใครที่มีทายาทที่ต้องการให้รับมรดกอยู่ภายในใจแล้ว แต่! ติดตรงที่ว่าคุณยังไม่มีมรดกให้กับเขาคนนั้น “การทำประกันชีวิต” ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมรดกชิ้นใหญ่! ชิ้นสุดท้าย! ที่คุณจะสามารถมอบให้กับเขาได้ เพราะเมื่อคุณได้เสียชีวิต(จากอุบัติเหตุ) ผู้ที่ได้รับมรดกตามพินัยกรรม จะได้รับเงินก้อนสูงสุด 1 ล้านบาท อีกทั้งเมื่อครบสัญญาทางบริษัทประกันจะจ่ายเงินก้อนใหญ่ 420% ให้คุณในทันที! โดยคุณสามารถเข้าดูรายละเอียดของประกันชีวิตจากบริษัทประกันชั้นนำเจ้าต่างๆ ได้ที่ Rabbit Care เว็บไซต์ที่แคร์ในทุกๆ ช่วงเวลาของชีวิต!